ประวัติวิทยาลัยสงฆ์

พัฒนาการวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด
       เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๔๐ พระราชปรีชาญาณมุนี (พุทธา สิริวุฑฺโฒ) เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด และเจ้าอาวาสวัดบูรพาภิราม (พระอารามหลวง) ในขณะนั้น ได้มีโอกาสร่วมงานกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฐานะเป็นองค์อุปถัมภ์และในฐานะเป็นสังฆบิดรของคณะสงฆ์จังหวัดร้อยเอ็ด มีนโยบายสนับสนุน ส่งเสริมให้ศิษยานุศิษย์ จากจังหวัดร้อยเอ็ด เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทั้งในส่วนกลางที่วัดมหาธาตุ และส่วนวิทยาเขต จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาเป็นพุทธศาสตรบัณฑิตแล้ว เป็นจำนวนมาก ได้ปรารภกับคณะสงฆ์จังหวัดร้อยเอ็ดที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สาขาร้อยเอ็ด เพื่อเป็นสถานศึกษาใน job ระดับอุดมศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณรในเขตจังหวัดร้อยเอ็ดและใกล้เคียง โดยได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดร้อยเอ็ดทุกระดับให้การสนับสนุน จึงได้ประชุมปรึกษาหารือคณะสงฆ์และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องดังกล่าว

ก้าวแรก : กำเนิดโครงการขยายของห้องเรียนวิทยาเขตขอนแก่น จังหวัดร้อยเอ็ด
       หลังจากมหาจุฬาลงณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (นามเดิมของมหาวิทยาลัยจุฬาฯ) ได้ขยายวิทยาเขตไปยังภูมิภาค วิทยาเขตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็สามารถเปิดดำเนินการได้ถึง ๕ วิทยาเขต คือ ที่จังหวัดหนองคาย จังหวัดขอนแก่น จังหวัดสุรินทร์ แลัจังหวีดนครราชสีมา แต่ละวิทยาเขตก็มีพัฒนาการตามเงื่อนไขปัจจัยแวดล้อมของพื้นที่นั้น ๆ
       สำหรับห้องเรียนจังหวัดร้อยเอ็ด เปิดการเรียนการสอนมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ในระยะแรกการจัดตั้งโครงการขยายห้องเรียนจังหวัดร้อยเอ็ดเพื่อเป็นสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ดและเขตใกล้เคียง โดยได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดร้อยเอ็ด ทุกระดับให้การสนับสนุนได้เปิดดำเนินการเรียนการสอนครั้งแรกในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๑ คณะพุทธศาสตร์ สาขาวิชาเอกศาสนามีนิสิตจำนวน ๔๙ รูป ซึ่งมีพระภิกษุสามเณรมาสมัครเรียนเข้าเรียนไม่มาก โดยใช้อาคารโรงเรียนพระปริยัทธรรม วัดบูรพาภิราม(พระอารามหลวง) ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีพระราชปรีชาญาณมุนี (พุทธา สิริวุฑฺโฒ) เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด วัดบูรพาภิราม(พระอารามหลวง) ในขณะนั้นให้การอุปถัมภ์
       วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๒ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้อนุมัติให้จัดตั้งเป็น “โครงการขยายห้องเรียนจังหวัดร้อยเอ็ด” ที่ วัดบูรพาภิราม(พระอารามหลวง)จังหวัดร้อยเอ็ด โดยได้แต่งตั้งให้นายภาณุวัฒน์ ชาญอุไร หัวหน้าสาขาวิชาศาสนา(ในขณะนั้น)เป็นผู้ดูแลโครงการขยายห้องเรียนจังหวัดร้อยเอ็ด ดังนั้นจึงถือเอาวันที่ ๒๗ สิงหาคม เป็นวันกำเนิดห้องเรียนจังหวัดร้อยเอ็ด อย่างเป็นทางการและถือเอาวันดังกล่าาวเป็นวันบูรพาจารย์ของวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ดทุกปี

ก้าวต่อมา : : ย้ายจากวัดบูรพาภิราม (พระอารามหลวง) ไปตั้งที่ทำการใหม่ ณ วัด สระทอง
     ปีการศึกษา ๒๕๔๗ ได้มีมติให้ย้ายห้องเรียนจากวัดบูรพาภิรามมาทำการเรียนการสอนที่อาคารเรียนโรงเรียนมงคลญาณวัดสระทอง ถนนหายโศรก ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีพระครูสุวรรณสรานุกิจ (นรินทร์ นรินฺโท) เป็นผู้อำนวยการโครงการขยายห้องเรียนจังหวัดร้อยเอ็ดรูปแรกจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๒
     พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยให้เปิดการสอนหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ วิชาเอกการบริหารรัฐกิจ
     พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยให้เปิดการสอนหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (สำหรับบรรพชิตและคฤหัสถ์)
     พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยให้เปิดการสอนหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
     พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยให้เปิดการสอนหลักสูตรระดับประกาศนีบัตร จำนวน ๑ หลักสูตร คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรการบริการกิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.)

ก้าวต่อมา : ย้ายที่ทำการใหม่ไปอยู่ที่ดินป่าดอนแดงทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณประโยชน์ หมู่ที่ ๔ ตำบลนิเวศน์ อำเภอธวัชบุรี
     พ.ศ. ๒๕๕๓ ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนทรงไทยประยุกต์ชั้นเดียวขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๐๐ เมตร มี ๑๓ ห้องเรียน ประกอบด้วย ๑ สำนักงาน ๑ ห้องศูนย์การเรียนรู้ (ICT) ชุมชน และ ๑ ห้องสมุดและได้สร้างอาคารหอประชุมพระราชธรรมโสภณเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนและได้จัดหารถบัสเพื่อให้บริการรับส่งนิสิต

ก้าวต่อมา : จากห้องเรียนวิทยาเขตขอนแก่น จังหวัดร้อยเอ็ด ยกฐานะเป็นวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด
     พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้รับการเห็นชอบให้ยกระดับโครงการขยายห้องเรียน จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นห้องเรียนวิทยาเขตขอนแก่น จังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมได้รับการอนุมัติรับคฤหัสถ์เข้าศึกษาระดับปริญญาตรี
และได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยให้เปิดการสอนหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตรร์ วิชาเอกการปกครอง
     พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยให้เปิดการสอนหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์ (หลักสูตรปรับปรุง ๒๕๕๕)
     พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้จัดตั้งวิทยาสงฆ์ร้อยเอ็ด โดยยกฐานะห้องเรียนจังหวัดร้อยเอ็ด (วิทยาเขตขอนแก่น) ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้กำหนดวิสัยทัศน์ได้ว่า “แหล่งเรียนรู้พระพุทธศาสนาและภูมิปัญญาท้องถิ่น”
     พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยให้เปิดการสอน ระดับปริญญาโท ๑ หลักสูตร ระดับหลักสูตรประกาศนียบัตร ๒ หลักสูตร คือ หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา, หลักสูตรประกาศนียบัตรพระพุทธศานา (ป.พศ.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรการสอนศีลธรรมในโรงเรียน (ป.สศ.)

     ปัจจุบันวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้สนองงานมหาวิทยาลัย ตามปรัชญาที่ว่าจัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคมในการสนองงานกิจการคณะสงฆ์และบริการสังคม

Comments are closed.