ปรัชญา/ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ

สุภาษิต

          ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต แปลว่า ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก

ปรัชญา

          จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม

ปณิธาน

          ศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง สำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์

วิสัยทัศน์ (vision)

จัดการศึกษาและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ โดยบูรณาการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ job ผ่านกระบวนการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ และเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนา มนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล และสันติสุข

พันธกิจ (Mission)   วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด  มุ่งปฏิบัติภารกิจหลักสำคัญ ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานการศึกษา โดยจัดการเรียนการสอนในลักษณะของการนาความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ให้เกิดเป็นองค์ความรู้ที่นาไปสู่การพัฒนาจิตใจและสังคมของคนในชาติอย่างทั่วถึง ซึ่งมีพันธกิจที่สาคัญ ๕ ด้าน ดังนี้

๑) ผลิตบัณฑิต

มุ่งเน้นการสร้างบัณฑิตและบุคลากร ที่ผ่านการศึกษาอบรม เป็นผู้มีคุณธรรมนาความรู้ มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ใฝ่รู้ ใฝ่คิด เป็นผู้นาทางจิตใจและปัญญา มีโลกทัศน์กว้างไกล มีความสามารถ และทักษะในการแก้ปัญหา มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาและพัฒนาสังคม

๒)  วิจัยและพัฒนา

มุ่งส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้าวิจัยให้ก้าวไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านพระพุทธ ศาสนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนามนุษย์ สังคมและสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ร่วมกันได้อย่าง สมดุลและสันติสุข ร่วมทั้งการสร้างเครือข่ายกับสถาบันที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักวิจัยให้นาไปสู่ความเป็นสากล

๓)  ส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคม

มุ่งเน้นการให้บริการทางวิชาการในรูปแบบที่หลากหลาย มีการบริการหรือบริหารเพื่อ ให้พัฒนาพระพุทธศาสนา พัฒนาคุณภ работа าพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน มีความมุ่งมั่นในการ ให้การบริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาแก่คณะสงฆ์และสังคม รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ และ ความร่วมมืออันดีระหว่างพระพุทธศาสนิกชนในระดับชาติและนานาชาติ

๔)  ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

มุ่งส่งเสริมการศึกษาผสมผสานทางวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมในประชาคมโลกด้าน พระพุทธศาสนา โดยการทะนุบารุงและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของสังคมไทย เป็นรากฐานของ การพัฒนาอย่างมีคุณภาพ เพื่อนาไปสู่การรักษาความแตกต่างทางวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกันใน ประชาคมโลกอย่างมีเอกลักษณ์และศักดิ์ศรี เพื่อเป็นการสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ให้เกิดขึ้นกับบุคคล องค์กรและสังคม

๕) พัฒนาระบบการบิหารจัดการ  ตามหลักธรรมมาภิบาล

ปรับปรุงโครงสร้างองค์กร กฎระเบียบ การบริหาร และพัฒนาบุคลากร ให้เกิดการบริหาร การเปลี่ยนแปลง โดยยึดหลักการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล

Comments are closed.