งานประกันคุณภาพการศึกษา

ข่าวสาร | งานประกันคุณภาพการศึกษา
ร้อยภูมิปัญญาสาเกตนคร : ผศ.ดร.สุกานดา จันทวารีย์ และพระมหาพงศ์ทราทิตย์ สุธีโร,ดร.
เกี่ยวกับ | งานประกันคุณภาพการศึกษา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เริ่มดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยกองวิชาการ สำนักงานอธิการบดีร่วมกับคณะกรรมการจัดการประชุมเสวนาแนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา ได้จัดให้มีการประชุมเสวนาการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจและชี้แจงถึงความจำเป็นของการประกันคุณภาพการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ มีผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยทั้งส่วนกลางและวิทยาเขตเข้าร่วมประชุม โดยอธิการบดีเป็นประธาน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังได้เชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอกมาให้คำปรึกษา ให้ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา
การดำเนินการด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ได้ดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (ทอมก) ซึ่งที่ประชุมเห็นร่วมกันว่าควรดำเนินการให้เป็นไปตามระบบ ซึ่งเหมาะสมกับธรรมชาติของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง เวลานั้นเป็นช่วงที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กำลังดำเนินการปรับเกณฑ์มาตรฐานตามองค์ประกอบต่างๆ ของระบบประกันคุณภาพให้เหมาะสมกับการจัดการศึกษาของไทย
ระยะที่หนึ่ง คณะกรรมการอำนวยการการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย ได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยตามระบบ IPOI คือ ปัจจัยนำเข้า (Input) ปัจจัยกระบวนการ (Process) ปัจจัยผลผลิต (Output) และปัจจัยผลกระทบ (Impact) ประกอบด้วย ๑๒ ปัจจัย ๕๒ เกณฑ์ และ ๕๙ ตัวชี้วัด เกณฑ์เหล่านี้ใช้ประเมินคุณภาพภายใน ครั้งที่ ๑ (๒๕๔๔-๒๕๔๖) ใช้ระบบให้คะแนนเป็น ๓ A (Awareness Attempt and Achievement)
ระยะที่สอง การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย ก็ยังใช้ระบบเดิมทุกประการ คือระบบ IPOI คือ ปัจจัยนำเข้า (Input) ปัจจัยกระบวนการ (Process) ปัจจัยผลผลิต (Output) และปัจจัยผลกระทบ (Impact) โดยคณะกรรมการอำนวยการได้ปรับปรุงและพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษามาเป็น ๑๕ ปัจจัย ๕๘ ตัวชี้วัด เกณฑ์เหล่านี้ใช้ประเมินคุณภาพภายใน ครั้งที่ ๒ (๒๕๔๗-๒๕๔๘) ใช้ระบบให้คะแนนเต็ม ๕ คะแนน ระยะนี้เองที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เข้ามาประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกมหาวิทยาลัย ในรอบที่ ๑ (๘ มีนาคม ๒๕๔๘)
ระยะที่สาม หลังจากที่สำนักงานงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาเข้ามาประเมินคุณภาพภายนอกและรายงานผลการประเมินแล้ว คณะกรรมการดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษา ได้ปรับระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยใหม่ เพื่อให้สะดวกต่อการดำเนินงานของทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัย โดยปรับจากปัจจัยเป็นมาตรฐานตาม สมศ. ประกอบด้วย ๗ มาตรฐาน ผสมผสานจากปัจจัยทั้งหมดเข้ามาอยู่ตามมาตรฐานนั้นๆ ระบบนี้ครอบคลุมการดำเนินการของส่วนงานที่จัดการศึกษาและส่วนงานที่สนับสนุนการศึกษาตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยทุกประการ ดังนี้
- มาตรฐานที่ ๑ ด้านคุณภาพบัณฑิต
- มาตรฐานที่ ๒ ด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
- มาตรฐานที่ ๓ ด้านการบริการวิชาการและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
- มาตรฐานที่ ๔ ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
- มาตรฐานที่ ๕ ด้านการพัฒนาสถาบันและบุคลากร
- มาตรฐานที่ ๖ ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน
- มาตรฐานที่ ๗ ด้านการประกันคุณภาพ
คณะกรรมการดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษา ได้ดำเนินการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ครั้งที่ ๓ (๒๕๔๙-๒๕๕๐) โดยใช้ระบบ ๗ มาตรฐาน ตามเกณฑ์การประเมินของ สมศ. เพื่อเตรียมรับการประเมินคุณภาพภายนอก ข้อมูลที่ได้จากการประเมินคุณภาพภายในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยใช้เป็นข้อมูลสำหรับการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ.ในรอบที่ ๒ (๒๓-๒๕ มกราคม ๒๕๕๑)
ระยะที่สี่ หลังจากที่มหาวิทยาลัยผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกในรอบที่สองแล้ว จึงได้ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยคณะกรรมการดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษา ได้ปรับระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยเป็น ๙ องค์ประกอบ ๕๖ ตัวบ่งชี้ ใช้ระบบให้คะแนนเต็ม ๓ คะแนน มหาวิทยาลัยดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษาด้วยระบบนี้ในปีการศึกษา ๒๕๕๐ – ๒๕๕๒ ดังนี้
- องค์ประกอบที่ ๑ ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนการดำเนินการ
- องค์ประกอบที่ ๒ การเรียนการสอน
- องค์ประกอบที่ ๓ กิจกรรมการพัฒนานิสิต
- องค์ประกอบที่ ๔ การวิจัย
- องค์ประกอบที่ ๕ การบริการทางวิชาการแก่สังคม
- องค์ประกอบที่ ๖ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
- องค์ประกอบที่ ๗ การบริหารและการจัดการ
- องค์ประกอบที่ ๘ การเงินและงบประมาณ
- องค์ประกอบที่ ๙ ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
ระยะที่ห้า มหาวิทยาลัยได้จัดทำระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยใช้เกณฑ์ประเมินของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นหลัก ผนวกกับเกณฑ์ประเมินของสำนักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ประเมินคุณภาพการศึกษาของส่วนงานที่จัดการศึกษาทุกส่วนงาน ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาครั้งนี้ มี ๙ องค์ประกอบ ๔๒ ตัวบ่งชี้ แบ่งเป็นปัจจัยนำเข้า (Input) ๔ ตัวบ่งชี้ กระบวนการ (Process) ๑๘ ตัวบ่งชี้ และผลผลิต (Output) หรือผลกระทบ (Impact) ๒๐ ตัวบ่งชี้ ใช้ระบบการให้คะแนนเต็ม ๕ คะแนน มหาวิทยาลัยดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษาด้วยระบบนี้ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓
๑. ทบวงมหาวิทยาลัยจะพัฒนาให้มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือในการรักษามาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา โดยเน้นหลักการของการให้สถาบันอุดมศึกษามีระบบการควบคุมคุณภาพทางวิชาการ และปรับปรุงการปฏิบัติภารกิจทุก ๆ ด้านอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานของความมีเสรีภาพทางวิชาการและอิสรภาพในการ ดำเนินงาน ที่ยังคงเอื้อต่อการตรวจสอบจากสังคมภายนอก อันนำมาซึ่งความมีมาตรฐานทางการศึกษาในระดับที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
๒. ทบวงมหาวิทยาลัยจะส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษามีการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาขึ้นภายในสถาบัน เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา โดยมุ่งเน้นให้มีการสร้างกลไกการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) ขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาที่เป็นรูปธรรมขึ้น ทั้งนี้แต่ละสถาบันอาจจัดให้มีระบบการตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการขึ้นเป็นการภายในได้ตามความเหมาะสม
๓. ทบวงมหาวิทยาลัยได้กำหนดรูปแบบและวิธีการในการประกันคุณภาพการศึกษาขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการ โดยแต่ละสถาบันอาจนำไปปรับปรุงหรือพัฒนาเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับสภาพการของ แต่ละสถาบันได้ตามความจำเป็น
๔. เพื่อให้การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของแต่ละสถาบัน ได้รับการยอมรับจากภายนอกโดยกว้างขวาง และเป็นการแสดงถึงความมีคุณภาพของการจัดการศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย จะจัดให้มีกลไกของการตรวจสอบและประเมินผลระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่แต่ ละสถาบันได้จัดให้มีขึ้นทั้งในระดับสถาบัน และคณะวิชาแล้วให้การรับรองมาตรฐานการศึกษาต่อไป
๕. ทบวงมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของหน่วย งานและสถาบันต่าง ๆ ในสังคม ในกิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาทั้ง ภาครัฐและเอกชน สมาคมวิชาการและวิชาชีพ ตลอดจนความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาที่มีความสนใจร่วมกันในกิจกรรมการ ประกันคุณภาพการศึกษา
๖. ทบวงมหาวิทยาลัยจะส่งเสริมให้มีการนำข้อมูลข่าวสาร และผลจากกิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันต่าง ๆ มาเผยแพร่ต่อสังคมภายนอกให้ได้รับทราบถึงมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษาของ ประเทศ ตลอดจนเป็นข้อมูลสำหรับนักศึกษาและผู้ปกครองในการเลือกสถานศึกษา เป็นข้อมูลสำหรับการพิจารณาให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ และทรัพยากรต่าง ๆ แก่สถาบันอุดมศึกษา เพื่อกระตุ้นให้สถาบันอุดมศึกษามีความตื่นตัวและพัฒนาคุณภาพโดยสม่ำเสมอ
นโยบายในการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เพื่อให้การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาสามารถดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยจึงได้กำหนดนโยบาย และแนวปฏิบัติในการประกันคุณภาพการศึกษา ดังนี้
๑. ให้ทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัยดำเนินการบริหารจัดการระบบงานต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องและตอบสนองต่อพันธกิจและนโยบายของมหาวิทยาลัย อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนาในทุกสาขาวิชาและทุกหลักสูตร ทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา
๒. พัฒนาระบบและกลไกในการดำเนินการประกันคุณภาพ ให้สอดคล้องกับกระบวนการดำเนินการภายในและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย โดยเน้นให้ทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัย ทั้งส่วนกลาง วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ ห้องเรียน และสถาบันสมทบ นำระบบประกันคุณภาพไปใช้ เพื่อสร้างให้เกิดกลไกในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
๓. สนับสนุนให้ทุกหน่วยงานทุกระดับของมหาวิทยาลัย ดำเนินการประกันคุณภาพภายในให้สอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย
๔. ดำเนินการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการดำเนินการของหน่วยงานเป็นประจำ ภายใต้กรอบและเกณฑ์มาตรฐานของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริหารของหน่วยงานและของมหาวิทยาลัยนำไปใช้ในการพัฒนา ระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยให้แต่ละหน่วยงานต้องจัดทำสรุปผลการดำเนินการประกันคุณภาพของตนไว้ประจำ หน่วยงานของตนแต่ละปีการศึกษา และให้ถือว่ารายงานผลสรุปการดำเนินการประกันคุณภาพดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของรายงานประจำปีที่เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัดและเปิดเผยต่อ สาธารณะ
๕. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย รวมทั้งนิสิต มีส่วนร่วมในการสร้างระบบประกันคุณภาพ ตลอดจนตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ของแต่ละฝ่ายในการสร้างคุณภาพให้เกิดขึ้น
๖. ให้มีคณะกรรมการกลางที่เป็นผู้กำหนดนโยบายและจัดทำมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและเหมาะสมกับพันธกิจทั้ง ๔ ด้าน คือ ผลิตบัณฑิต วิจัยและพัฒนา ส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประกอบด้วย
๖.๑ คณะกรรมการอำนวยการการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นผู้กำหนดนโยบายหลักและแนวปฏิบัติในการดำเนินการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย
๖.๒ คณะกรรมการดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นผู้กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ เช่น ปัจจัย ตัวชี้วัด และเกณฑ์ประเมินตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับพันธกิจ ทั้ง ๔ ด้าน รวมทั้งกำหนด กลไก หลักเกณฑ์ วิธีการดำเนินการประกัน คุณภาพ และดำเนินการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการประกันคุณภาพของแต่ละหน่วยงาน ของมหาวิทยาลัย ทั้งส่วนกลาง วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ ห้องเรียน และสถาบันสมทบเป็นประจำ พร้อมจัดทำสรุปเป็นรายงานผลการดำเนินการประกันคุณภาพประจำปี รวมทั้งมาตรการในการกระตุ้นให้ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย มีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย
๗. ให้กองวิชาการ สำนักงานอธิการบดี เป็นหน่วยงานกลางที่ดูแล พัฒนาระบบและกลไกในการดำเนินการประกันคุณภาพ ให้สอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานของมหาวิทยาลัย พร้อมกับติดตาม ดูแล ให้มีการนำระบบประกันคุณภาพไปใช้ในการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการของ แต่ละหน่วยงานของมหาวิทยาลัย ทั้งส่วนกลาง วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ ห้องเรียน และสถาบันสมทบ เพื่อสร้างให้เกิดกลไกการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในทุกหน่วยงาน
๘. ให้แต่ละหน่วยงานของมหาวิทยาลัยทั้งส่วนกลาง วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ ห้องเรียน และสถาบันสมทบ จัดทำระบบประกันคุณภาพภายในของตนให้สอดคล้องกับระบบประกันคุณภาพ ของมหาวิทยาลัย พร้อมติดตามดูแลให้หน่วยงานย่อยภายในมีการดำเนินการตามภารกิจหลักที่ได้ กำหนดไว้ ตลอดจนประสานงานกับกองวิชาการ สำนักงานอธิการบดี ในการจัดทำแผนงานประกันคุณภาพประจำปี
๙. ผู้บริหารทุกระดับของมหาวิทยาลัย จะต้องนำข้อมูลที่ได้จากการรายงานสรุปผลการตรวจสอบและการประเมินของคณะ กรรมการดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษาของ มหาวิทยาลัย ไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๑๐. ทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัย จะต้องชี้แจงให้ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และบุคลากรของตน ให้เข้าใจในระบบการประกันคุณภาพ ตลอดจนตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ของแต่ละฝ่ายที่จะต้องรับผิดชอบและมีส่วน ร่วมในการสร้างคุณภาพ อันจะส่งผลให้การดำเนินการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
ความหมายและความสำคัญ
การประกันคุณภาพการศึกษา มีความสำคัญ ๓ ประการ
- ๑. ทำให้บุคคลทั่วไปได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้ เกิดความเชื่อมั่นและสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน
- ๒. ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเกิดความเสมอภาคในโอกาสที่จะได้รับการ บริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง
- ๓. ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและ มาตรฐานอย่างจริงจัง ซึ่งมีผลให้การศึกษามีพลังที่จะพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมและ ต่อเนื่อง
การประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นการบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตาม ภารกิจปกติของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้ เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการการศึกษา ทั้งยังเป็นการป้องกันการจัดการศึกษาที่ด้อยคุณภาพและสร้างสรรค์การศึกษาให้ เป็นกลไกที่มีพลังในการพัฒนาประชาชนในสังคมไทยให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น
ประวัติและพัฒนาการการประกันคุณภาพการศึกษา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เริ่มดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยกองวิชาการ สำนักงานอธิการบดี ร่วมกับคณะกรรมการจัดการประชุมเสวนาแนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา ได้จัดให้มีการประชุมเสวนาการประกันคุณภาพการศึกษา โดยการประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ และชี้แจงถึงความจำเป็นของการประกันคุณภาพการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ มีผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยทั้งส่วนกลางและวิทยาเขตเข้าร่วมประชุม โดยมีอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธาน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังได้เชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประกันคุณภาพการ ศึกษาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยมาให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ และแนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา
การดำเนินการด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย ได้ดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ (ทอมก) ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นร่วมกันว่าควรดำเนินการให้เป็นไปตามระบบซึ่งเหมาะสม กับธรรมชาติของ มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ซึ่งเวลานั้นก็เป็นช่วงที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ) เองก็กำลังดำเนินการปรับเกณฑ์มาตรฐานตามองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบประกันคุณภาพให้เหมาะสมกับการเรียนการจัดการศึกษาของไทยด้วย
ในที่สุดคณะกรรมการอำนวยการการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย จึงมีมติเห็นชอบว่า การประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้ดำเนินการตามระบบ IPOI คือ ปัจจัยนำเข้า (Input) ปัจจัยกระบวนการ (Process) ปัจจัยผลผลิต (Output) และปัจจัยผลกระทบ (Impact)
หลักการและการดำเนินการ
- ๑. คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ต้องรับผิดชอบร่วมกันในการประกัน คุณภาพการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒
- ๒. มีการประสานแผนดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษาของหน่วยงานกับมหาวิทยาลัย
- ๓. จัดงบประมาณสนับสนุนในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษา
- ๔. กำหนดผลจากการประกันคุณภาพ สามารถบ่งชี้คุณภาพของบัณฑิต คณาจารย์ การบริการที่เชื่อถือได้ มีคุณค่า และเป็นที่ศรัทธาของสังคม
- ๕. กลไกการประกันคุณภาพภายในระดับคณะ วิทยาเขต สถาบัน สำนัก ศูนย์ วิทยาลัย ภาควิชา และหน่วยงานระดับกอง เป็นตัวป้อนที่นำไปสู่การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
- ๖. ผู้บริหารต้องมีข้อมูล และผลการประเมินคุณภาพภายในสำหรับส่งเสริมหรือกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาคุณภาพ
- ๗. มีเอกสารสนับสนุนการประเมินคุณภาพการศึกษา ทั้งที่เป็นคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา และแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากรของมหาวิทยาลัย
หน่วยงานที่ต้องดำเนินการประกันคุณภาพ
๑. คณะ / วิทยาเขต / วิทยาลัยสงฆ์ / ห้องเรียน ที่มีการบริหารจัดการในด้านการเรียนการสอน การผลิตบัณฑิตเต็มรูปแบบ ต้องมีการจัดทำระบบประกันคุณภาพ โดยยึดตามแนวคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย
๒. หน่วยงานระดับสถาบัน สำนัก และหน่วยงานที่สนับสนุนด้านการศึกษา ต้องมีการดำเนินการในระบบประกันคุณภาพตามภารกิจของหน่วยงาน และพร้อมรับการตรวจสอบและประเมินจากคณะกรรมการตรวจสอบและประเมิน ของมหาวิทยาลัย
๓. สถาบันสมทบ ที่มีการจัดการเรียนการสอน การผลิตบัณฑิต ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย จะต้องมีการควบคุม ดูแลให้การเรียนการสอน การบริหาร หลักสูตร และการผลิตบัณฑิตให้ได้มาตรฐานตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด รวมทั้งจัดทำรายงานการศึกษาตนเองเพื่อรับการตรวจสอบและประเมินจากคณะกรรมการ ตรวจสอบและประเมินของมหาวิทยาลัย
วงจรการประกันคุณภาพ
กลไกของการปรับปรุงการประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่องตามวงจรของ P – D – C – A หรือ Plan – Do – Check – Act เป็นจักรเฟืองสำคัญ ซึ่งมีความหมายดังนี้
- Plan (การวางแผน) หมายถึง การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน วิธีการและขั้นตอนที่จำเป็น เพื่อให้การดำเนินการประกันคุณภาพบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้
- Do (การดำเนินการ) หมายถึง การปฏิบัติงานให้บรรลุตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ การดำเนินการต่าง ๆ จะเป็นไปตามขั้นตอนหรือระบบงานที่ออกแบบหรือกำหนดไว้ โดยหน่วยงานนั้น ๆ และจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลและบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานไว้ ด้วย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินงานในขั้นตอนต่อไป
- Check (การตรวจสอบ) หมายถึง การตรวจสอบระบบกลไกของการดำเนินงาน รวมทั้งผลปฏิบัติงานว่าได้เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ หรือไม่ หากมีปัญหาหรือจุดอ่อนของการดำเนินงาน ควรได้มีการค้นหาสาเหตุและวางมาตรการในการแก้ไขต่อไป ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพของงาน
- Act (การปรับปรุงพัฒนา) หมายถึง การวางมาตรการในการดำเนินการปรับปรุงพัฒนาระบบกลไกในการดำเนินการ เพื่อเอื้อให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้น ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวควรเป็นข้อมูลที่ใช้ในการวางแผนการดำเนินการในปีต่อ ไป
รอบเวลาของการดำเนินการในระบบประกันคุณภาพ
การตรวจสอบคือการติดตามดูว่าผลการดำเนินงานของระบบประกันคุณภาพและการบริ หาร จัดการ การบริการต่าง ๆ ในหน่วยงานเป็นไปตามแผนงาน/โครงการที่กำหนดไว้หรือไม่ การตรวจสอบจึงเป็นการดูผลงานการดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา (โดยปกติ ๑ ปีการศึกษา) ซึ่งแสดงถึงระบบและกลไกยังคงดำเนินการอยู่อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยกระบวนการตรวจสอบสามารถมองเห็นผลการดำเนินการของหน่วยงานในปัจจุบันได้ เป็นอย่างดี และรู้ได้ชัดว่าการดำเนินงานของหน่วยงานนั้น ๆ ก้าวหน้าไปในระดับใด โดยมหาวิทยาลัยจะจัดทำแผนงานประกันคุณภาพประจำปี พร้อมทั้งระบุระยะเวลาการตรวจสอบของหน่วยงานวิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ ห้องเรียน และสถาบันสมทบ แจ้งให้แต่ละแห่งทราบ โดยหน่วยงานนั้น ๆ มีหน้าที่ในการจัดทำแผนงานประกันคุณภาพของหน่วยงานของตนให้สอดคล้องและเสนอ ให้คณะกรรมการดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย และกองวิชาการ สำนักงานอธิการบดี ได้รับทราบ
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในปัจจุบัน
ประเด็น | รายละเอียด |
INPUT | ๑. ปรัชญา ปณิธาน และวัตถุประสงค์ |
๒. หลักสูตร | |
๓. คณาจารย์ | |
๔. นิสิต | |
๕. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ | |
๖. อคารสถานที่และสภาพแวดล้อม | |
๗. ระบบบริหาร จัดการ | |
๘. งบประมาณ | |
PROCESS | ๙. การเรียนการสอน |
๑๐. การบริหารวิชาการด้านพระพุทธศาสนาแก่สังคม | |
๑๑. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม | |
๑๒. การวิจัย | |
๑๓. ระบบการประกันคุณภาพ | |
OUTPUT | ๑๔.ผลผลิต |
IMPACT | ๑๕. ผลกระทบต่อมหาวิทยาลัย คณะสงฆ์และสังคม |
เอกสาร | งานประกันคุณภาพการศึกษา
- เอกสาร-งานประกัน
เอกสาร-งานประกัน
PowerPoint ระบบการประกันคุณภาพคุณภาพภายในระดับหลักสูตร
แบบประเมิน | งานประกันคุณภาพการศึกษา
แบบประเมิน-งานประกัน
สารสนเทศ | งานประกันคุณภาพการศึกษา
รายงาน | งานประกันคุณภาพการศึกษา
- รายงาน-งานประกัน
รายงาน-งานประกัน
วิจัยและคุณภาพการศึกษา
ทะเบียนและวัดผล
ห้องสมุดและสารสนเทศ
งานกิจการนิสิต
- ระบบการปฏิบัติศาสนกิจ
- ระบบการบริการสังคม
- ทำเนียบศิษย์เก่า
- สวัสดิการสำหรับนิสิต
พระสอนศีลธรรมในโรงเรียน